วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 1 บทนำ


น้าเว็บเพจนี้ครูบัญชา ชุมหิรัญ ครูสอนวิชาฟิสิกส์ โรงเรียนเกล็ดลิ้นวิทยา จังหวัดนครราชสีมา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมนอกห้องเรียน สำหรับลูกศิษย์และผู้สนใจทั่วไป โดยใช้เนื้อหาวิชาฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายตามแนวทางของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ผู้สนใจสามารถเลืิอกหัวข้อที่ต้องการศึกษา ตามหน่วยการเรียนรู้ที่
กำหนดไว้ อ่านเพิ่มเติม

บทที่ 2 การเคลื่อนที่ใน 1 มิติ และ 2 มิติ


การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงใน 1 มิติ   แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
    1. การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงที่ไปทิศทางเดียวกันตลอด  เช่น  โยนวัตถุขึ้นไปตรง ๆ  รถยนต์กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง
    2. การเคลื่อนที่ในแนวเส้นเส้นตรง แต่มีการเคลื่อนที่กลับทิศด้วย  เช่น  รถแล่นไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง  เมื่อรถมีการเลี้ยวกลับทิศทาง  ทำให้ทิศทางในการเคลื่อนที่ตรงข้ามกัน อ่านเพิ่มเติม



บทที่ 3 แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่


มวล (mass)
มวล เป็นคุณสมบัติหนึ่งของวัตถุ ที่บ่งบอกปริมาณของสสารที่วัตถุนั้นมี มวลเป็นแนวคิดหลักอันเป็นหัวใจของกลศาสตร์แบบดั้งเดิม รวมไปถึงแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง ในที่นี้หมายถึง มวลเฉื่อย ( inertial mass) คือ การวัดปริมาณความเฉื่อยของมวล ซึ่งหมายถึงปริมาณความต้านทานในการเปลี่ยนสถานะของการเคลื่อนไหว เมื่อมีแรงมากระทำ วัตถุที่มีมวลเฉื่อยน้อย จะสามารถเปลี่ยนแปลงสถานะการเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว ในทางกลับกัน วัตถุที่มีมวลเฉื่อยมาก จะเปลี่ยนแปลงสถานะการเคลื่อนไหวได้ยากกว่า ตัวอย่างเช่น หากพยายามทำให้วัตถุ 2 ก้อนเคลื่อนที่โดยใช้แรงเท่ากัน วัตถุที่มีมวลเฉื่อยมาก จะเคลื่อนไหวได้น้อยกว่าวัตถุที่มีมวลเฉื่อยน้อย  อ่านเพิ่มเติม





บทที่ 4 การเคลื่อนที่เเบบต่างๆ
        ในหน่วยนี้จะเป็นการศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุ 3 แบบ คือ
    1.) การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
    2.)การเคลื่อนที่ในแนววงกลม
    3.)การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์มอนิกอย่างง่าย อ่านเพิ่มเติม